ขึ้นกับ volume สินค้าที่จะ load เข้าตู้ค่ะ
- ถ้าสินค้ามีพอสำหรับเต็มตู้ --> ก็ควรจะโหลดสินค้าแบบเต็มตู้ คือ ทั้งตู้เราเป็น exporter เจ้าเดียว --> แจ้งกับบริษัทเรือขอแบบลากตู้.. --> สายเรือจะจัดตู้เปล่าลากไปถึงโกดังสินค้าคุณเพื่อบรรจุของเข้าต ู้ แล้วจะลากตู้นั้นไปท่าเรือ
- ถ้าสินค้าน้อย ไม่เต็มตู้ --> ก็โหลดแบบสินค้าเราปนกับ exporter เจ้าอื่น --> book กับบริษัทเรือ แล้ว เอาสินค้าเราไปโหลดที่ท่า (CFS)
ลองอ่าน link นี้ดูน่ะ ได้ความรู้เยอะดีค่ะ
http://www.marinerthai.com/fcllcl.htm
FCL - full container load : หรือ หมายถึง การบรรทุกสินค้าใส่ตู้จน เต็มที่ full carload : ก็ คือ การบรรทุกสินค้าเต็ม คันรถ(รถไฟ)
LCL - less container load : หรือ บรรทุกสินค้าใส่ตู้ไม่เต็ม loose container load : หรือ ก็ คือ การบรรทุก แบบ หลวมๆ(ยังบรรทุก ได้อีก) less than carload : ก็คือ บรรทุกไม่เต็มคันรถ(รถไฟ) loose carload : บรรทุก หลวมๆ (บรรทุกได้อีก)
CY - container yard : หมายถึง ลานที่เก็บตู้คอนเทนเนอร์
CFS - container freight station : หมายถึง สถานที่จัดสินค้าใส่ หรือ เอาสินค้า ออกจากตู้คอนเทนเนอร์
CY เปรียบเทียบ กับ CFS :
ทั้ง CY และ CFS เป็น การนำเอา วิธีปฏิบัติ และ ตำบลที่ ที่รับตู้ หรือ ส่งตู้ให้ มาพูดกัน หาก เป็น ระบบ CY จะ ส่ง ( หรือรับ) ตู้คอนเทนเนอร์จากผู้ส่งออก หรือ ที่สถานีของผู้รับจัดส่งสินค้า ที่จัดไว้เพื่อวางตู้คอนเทนเนอร์ ส่วน CFS เป็นการ ส่งสินค้า (หรือรับสินค้า) ที่ไม่ใช่ตู้คอนเทนเนอร์ จาก สถานี ที่จัดเป็นที่จัดเก็บ หรือ จัดส่ง สินค้าคอนเทนเนอร์ ของสายการเดินเรือ
สถานี ที่จัดเป็น ที่จัดเก็บหรือจัดส่งสินค้าคอนเทนเนอร์ (CFS) นี้ ปฏิบัติการโดย สายการเดินเรือ เพื่อ รับสินค้า, ส่งต่อสินค้าไปยัง.. , เข้า ห่อ หรือ แกะ ห่อ , และโดยทั่วไป ที่นั้น ควรจะเป็น ศูนย์กลางของการตรวจเก็บภาษีศุลกากร ด้วย